เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับเรา

CASE คืออะไร

โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้ และมั่นคงสำหรับ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่กำลังพัฒนาเร็วที่สุดในโลก โดยมีการคาดการณ์ว่าความต้องการพลังงานโดยรวมอาจเพิ่มขึ้นถึง 60% และความต้องการพลังงานไฟฟ้าอาจเพิ่มขึ้นถึง 100% ในปี พ.ศ. 2583 เมื่อเทียบกับระดับความต้องการในปี พ.ศ. 2561

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพสูงในด้านพลังงานหมุนเวียน

แม้ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพสูงในด้านพลังงานหมุนเวียน แต่เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยเฉพาะถ่านหินยังคงได้รับการยอมรับให้เป็นเชื้อเพลิงหลักเพื่อตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น

ภูมิภาคนี้พึ่งพาถ่านหินในสัดส่วนที่สูงมากอยู่แล้ว (40% ของปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตในปี พ.ศ. 2561 มาจากถ่านหิน) และสถิติ ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2564 แสดงให้เห็นว่าภูมิภาคมีแผนการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินใหม่เกือบ 100 กิกะวัตต์ ด้วยเหตุนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงยังคงเป็นหนึ่งในไม่กี่ภูมิภาคทั่วโลกที่ยังคงวางแผนจะขยายการใช้ถ่านหินอย่างมีนัยสำคัญ

การเพิ่มพลังงานลมและแสงอาทิตย์

ต้นทุนของเทคโนโลยีพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ลดลง ประกอบกับความกังวลที่เพิ่มขึ้นของสาธารณชนเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษและผลกระทบจากมลภาวะในพื้นที่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างช้า ๆ

ในปี พ.ศ. 2563  ภูมิภาคนี้ได้เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์เป็นจำนวนถึง 6.8 กิกะวัตต์ ซึ่งมากกว่าการเพิ่มกำลังการผลิตตลอด 10 ปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในที่นี้ประกอบด้วย พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศเวียดนามเป็นหลักกว่า 5 กิกะวัตต์ หรือคิดเป็นประมาณ 80% ของการเพิ่มขึ้นทั้งหมด อย่างไรก็ตามไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ยังถือเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งภูมิภาค ในทางตรงข้าม กำลังการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2563 มีการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลอีก 11 กิกะวัตต์ และในทศวรรษที่ผ่านมามีการเพิ่มกำลังการผลิตเกือบ 85 กิกะวัตต์ (IRENA, 2020).

โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้ และมั่นคงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้ และมั่นคงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CASE) มีเป้าหมาย ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อมุ่งสู่การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้มุ่งเน้นไปที่ 4 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ โดยทั้ง 4 ประเทศมีการผลิตไฟฟ้าคิดเป็นเกือบ 3 ใน 4 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคิดเป็นประมาณ 72% ของ GDP ของภูมิภาค และ 82% ของประชากรทั้งหมด การพัฒนาพลังงานของประเทศเหล่านี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถของภูมิภาคในการบรรลุเป้าหมายทั้งด้านการพัฒนาและความยั่งยืน ตลอดจนถึงการบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีส

วัตถุประสงค์ของเรา

วัตถุประสงค์ของโครงการ CASE

วัตถุประสงค์ของโครงการ CASE คือ การเสนอวิธีแก้ปัญหาที่อิงหลักฐานให้กับผู้กำหนดนโยบายที่กำลังเผชิญความท้าทาย และสร้างการสนับสนุนทางสังคมต่อวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นในภูมิภาค โดยใช้แนวทางการค้นหาข้อเท็จจริงร่วมกันเพื่อลดขอบเขตของความเห็นต่างผ่านการมีส่วนร่วมของการวิเคราะห์และการอภิปรายจากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ CASE ยังมุ่งสนับสนุนการประสานงานในภาคพลังงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและนโยบาย และสนับสนุนการหารือเชิงนโยบายเกี่ยวกับประเด็นด้านพลังงาน

พวกเราทำอะไร

การผลักดันเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เราดำเนินการ คลอบคลุมผลผลิตใน  5 ด้าน ที่สะท้อนองค์ประกอบหลักเพื่อการบรรลุการเปลี่ยนแปลงความคิดและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในภาคไฟฟ้า ประกอบด้วย

การวิจัยด้านพลังงานสะอาด

การวิจัย สร้างหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อเป็นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

ความโปร่งใส

ความโปร่งใส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานร่วมกัน และเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่ามีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบติดตามได้ดีขึ้น

สร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจ

การเจรจากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนอกเหนือจากภาคพลังงาน เพื่อสร้างความไว้วางใจ ความเป็นเจ้าของ และการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้านนโยบายพลังงาน

ให้ความช่วยเหลือ

ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านพลังงานในภูมิภาค

การสื่อสารที่ดี

การสื่อสารเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของประชาชน ให้ข้อมูลที่ดีขึ้นแก่สาธารณชน และทำให้การอภิปรายเรื่องพลังงาน เป็นหัวข้อทางการเมืองที่สามารถเข้าถึงได้โดยทุกคน ไม่เฉพาะแค่กับผู้เชี่ยวชาญ

พวกเราคือใคร

โครงการ CASE ดำเนินการในนามของกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติและความปลอดภัยนิวเคลียร์ของเยอรมัน (BMU) จากปีพ.ศ.2563 ถึง พ.ศ. 2567 โดยขับเคลื่อนด้วยความร่วมมือที่เข้มแข็งในระดับภูมิภาค

กลุ่มการดำเนินการประกอบด้วย 8 องค์กร นำโดยหน่วยงานความร่วมมือและการพัฒนาระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) องค์กรผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ 2 แห่ง และองค์กรผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ 5 แห่ง

องค์กรผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ

องค์กรผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่

เรามีพันธมิตรที่หลากหลาย

เรามีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรที่หลากหลาย ตั้งแต่รัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐ ไปจนถึงองค์กรภาคประชาสังคมและภาคประชาสังคมในวงกว้าง องค์กรทางการเงินและนักลงทุน รวมทั้งภาคเอกชนในด้านพลังงาน

CASE เป็นโครงการที่ดำเนินงานควบคู่ไปกับ Energy Transition Partnership (ETP)

CASE เป็นโครงการที่ดำเนินงานควบคู่ไปกับ Energy Transition Partnership (ETP)

​CASE เป็นโครงการที่ดำเนินงานควบคู่ไปกับ Energy Transition Partnership (ETP) ซึ่งเป็นพันธมิตรของผู้บริจาคระหว่างประเทศ องค์กรการกุศล และรัฐบาลพันธมิตรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ETP มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพลังงานหมุนเวียน เพิ่มการลงทุนของภาครัฐและเอกชน เร่งการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในโครงข่ายไฟฟ้า สร้างขีดความสามารถและความรู้ในท้องถิ่น และส่งเสริมความตระหนักรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน CASE ให้การสนับสนุน ETP ในหลายระดับ เพื่อให้แน่ใจว่าการตกลงและการประสานงานเป็นไปตามที่ประเทศต่าง ๆ ต้องการ พร้อมสนับสนุนการตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น